การอับปางของเรือ[17] ของ อาร์เอ็มเอส ไททานิก

แผนที่แสดงบริเวณที่เรือเกิดอุบัติเหตุภาพวาดการจมของไททานิก โดย Willy Stöwerเหล่านักดนตรีของไททานิกเรือบดของไททานิก

วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ของนิวฟันด์แลนด์ 22 นาฬิกา 45 นาที อุณหภูมิภายนอกเรือลดลงอย่างรวดเร็วจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง และน้ำทะเลรอบ ๆ ก็นิ่งลงจนแทบไม่มีคลื่นเลย แต่ก็ไม่มีใครในเรือที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ผู้โดยสารที่อยู่บนดาดฟ้าก็กลับลงไปในเรือและใช้ชีวิตต่อตามปกติ[23]

ลำดับการอับปางของเรือ ไททานิก

22 นาฬิกา 50 นาที เรือเดินสมุทร แคลิฟอร์เนียน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ได้ส่งข่าวเตือนไททานิก ว่าเรือ แคลิฟอร์เนียน ต้องหยุดเรือ เพราะถูกน้ำแข็งล้อม[23]

ภาพภูเขาน้ำแข็งที่คาดว่าไททานิกชน ถ่ายไว้ได้ในวันเดียวกับที่ไททานิกจม

23 นาฬิกา 39 นาที เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงเลี้ยวลำเรือเพื่อหลบ แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด[24]

23 นาฬิกา 40 นาที ไททานิกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง[1] ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก

ไม่กี่นาทีต่อมาวิศวกรเดินลงไปตรวจดูความเสียหาย และรายงานมาว่า เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาด้านหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่ทนทานเท่าจุดอื่น ๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว ซึ่งวิศวกรบอกว่า หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้ 4 ห้อง ไม่ใช่ 5 ห้องดังที่เป็น ดังนั้นน้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อท่วมมิดชั้น F เริ่มไหลขึ้นชั้น E น้ำก็จะล้นกำแพงกั้นน้ำเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องกระทั่งจมในที่สุด ดังนั้น เรือกำลังจะจมจากหัวเรือก่อน โดยเรือเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง[3][25]

0 นาฬิกา ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 น้ำเริ่มท่วมส่วนห้องพักของผู้โดยสารชั้นสาม ทำให้เริ่มเกิดข่าวลือว่าเรือกำลังจะจม แต่ผู้โดยสารส่วนมากยังไม่เชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เรือไททานิกถูกโฆษณาว่าไม่มีวันจม

0 นาฬิกา 5 นาที กัปตันสั่งให้เตรียมเรือสำรองไว้ เตรียมอพยพผู้คนโดยด่วน, บอกเจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ และบอกพนักงานให้ไปปลุกผู้โดยสาร ให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ และทำร่างกายให้อบอุ่น และไปที่ดาดฟ้า ทำให้ข่าวลือเรื่องเรือกำลังจะจมแพร่ไปทั่วเรือ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อ ส่วนใหญ่ยังดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างใจเย็น และเมื่อขึ้นไปที่ดาดฟ้า เจออากาศหนาวภายนอก ก็กลับเข้าไปข้างในอีก ในช่วงเวลานี้ ผู้โดยสารดูไม่ตื่นตัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะพบนั้นเลวร้ายเพียงใด[3]

ต่อมาราว 5-15 นาที เรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ โดยบอกว่าเร่งเครื่องเต็มที่แล้ว และคาร์พาเธียจะไปถึงเรือไททานิกภายใน 4 ชั่วโมง แต่ไม่ทันกาล วิศวกรบอกว่าเรือลอยอยู่ได้ไม่ถึง 4 ชั่วโมงแน่ ดังนั้น ไททานิก จึงต้องพึ่งตนเอง[26]

0 นาฬิกา 25 นาที เรือสำรองทุกลำพร้อมอพยพผู้โดยสาร กัปตันสั่งให้เริ่มอพยพโดยให้สตรีและเด็กลงเรือไปก่อน แต่ลูกเรือไม่รู้ว่าเรือสำรองจุผู้คนได้เท่าไร จึงปล่อยเรือบดออกทั้งที่ยังใส่คนไม่เต็มที่ ทำให้แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตได้ 1,178 คนตามที่ถูกออกแบบ กลับรับผู้โดยสารมาเพียง 712 คนเท่านั้น[3]

0 นาฬิกา 45 นาที เรือสำรองลำแรกถูกปล่อยลงมา และเมื่อผู้โดยสารได้รับข่าวการปล่อยเรือชูชีพ และเห็นเจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ก็เริ่มเชื่อข่าวที่ลือกันในเรือว่า เรือกำลังจะจม[27]

0 นาฬิกา 50 นาที เริ่มยิงพลุขอความช่วยเหลือขึ้นฟ้า[3]

1 นาฬิกาตรง ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่เชื่อว่าเรือกำลังจะจม เกิดความวุ่นวายและตื่นตระหนกขึ้น ลูกเรือที่ทำหน้าที่ปล่อยเรือสำรองเริ่มเผชิญแรงกดดันจากการที่ผู้โดยสารแย่งกันเป็นคนถัดไปที่จะได้ขึ้นเรือสำรอง เกิดเป็นความวุ่นวายเล็ก ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารชายหลายคนแสดงความเป็นสุภาพบุรุษ โดยให้ภรรยาและลูกขึ้นเรือ แล้วตนเองถอยไป[28]

1 นาฬิกา 15 นาที น้ำท่วมขึ้นมิดหัวเรือ และข่าวการที่น้ำท่วมมาจนมิดหัวเรือ ทำให้ผู้โดยสารเริ่มตื่นตระหนก เพราะเคยเห็นว่าหัวเรือนั้นสูงเพียงใด ดังนั้นผู้โดยสารและลูกเรือจึงตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อรู้ข่าว เพราะเรือจมเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้โดยสารแย่งกันขึ้นเรือ ทำให้ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้น[3]

1 นาฬิกา 25 นาที ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้นมาก เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ปืนควบคุม เรือบดถูกเจ้าหน้าที่ปล่อยลงอย่างรีบร้อน เพราะความวุ่นวายจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรจุคนลงเรือ และในการปล่อยเรือสำรองลงไป ในขณะที่เรือเองก็จมลงเรื่อย ๆ เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริต พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต เพลงสุดท้ายที่บรรเลงเป็นเพลงช้าในชื่อ “Nearer, My God, to Thee” หรือแปลว่า “ใกล้ชิดพระเจ้า” ซึ่งเป็นเพลงที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ร้องเพื่อแสดงความไว้อาลัย

1 นาฬิกา 45 นาที น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณระเบียงด้านหัวเรือ ในขณะนี้ ชั้น A ด้านหัวเรือ เหลือความสูงจากผิวน้ำ 3 เมตร

1 นาฬิกา 55 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปหมด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเรือสำรองแบบพับได้ และเริ่มลำเลียงผู้คนออกจากเรือต่อ[3]

2 นาฬิกา น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมดาดฟ้าเรือบริเวณส่วนหัว ท่วมห้องบังคับการเรือ และเริ่มเข้าท่วมลึกเข้าไป ไม่นานปล่องควันปล่องที่ 1 ก็หักโค่นเพราะแรงดันน้ำที่อัดฐานปล่องควัน จึงเปิดทางให้น้ำทะลักเข้าไปในตัวเรือส่งผลให้เรือเริ่มยกตัวสูงขึ้นและเริ่มเอียงไปทางซ้ายมากขึ้น [3]

2 นาฬิกา 5 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปจนหมด แต่ยังเหลือคนมากกว่า 1,500 คนบนเรือ และท้ายเรือเริ่มยกตัวขึ้น เห็นใบจักรขับเคลื่อนลอยขึ้นมาอย่างชัดเจน และยกขึ้นเรื่อย ๆ และทางด้านหัวเรือ น้ำก็เข้าท่วมสูงมิดห้องบังคับการเรือ ท้ายเรือยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เรือเอียงอย่างน่ากลัว ผู้โดยสารหวาดกลัว บางคนถึงกับโดดลงมาจากเรือเพื่อหวังจะว่ายไปขึ้นเรือชูชีพด้านล่าง แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนจะว่ายไปถึง[29]

เพราะในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ที่อยู่บนเรือสำรองได้นำเรือสำรองทุกลำให้ออกห่างจากตัวเรือไททานิกให้ไกลที่สุด เพราะไททานิกที่กำลังจมอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดแรงดูดของน้ำบริเวณใกล้ลำเรือซึ่งอาจจะดูดเรือสำรองจมลงไป หรืออาจเกิดอันตรายอย่างอื่น ที่สามารถทำให้เรือสำรองจมได้ เหล่าเจ้าหน้าที่พยายามนำเรือสำรองออกไปให้ไกลที่สุด และน้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวเย็นเกือบเป็นน้ำแข็ง ดังนั้น ผู้ที่ตัดสินใจในการโดดมาจากเรือไททานิก แล้วคิดว่ายไปขึ้นเรือสำรอง ส่วนใหญ่จึงถูกน้ำที่เย็นยะเยือกทำให้แข็งตาย

2 นาฬิกา 18 นาที ระบบไฟฟ้าบนเรือหยุดทำงาน ไม่นานต่อมา เรือก็ขาดออกเป็นสองท่อน (จุดที่ฉีกขาดคาดว่าอยู่ใต้ปล่องที่ 3 พอดี) แต่พื้นของชั้นล่างสุดยังไม่ขาดออกจากกัน การหักครั้งนี้ ทำให้ส่วนหัวเรือจมดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนท้ายเรือขึ้นมา ส่งผลให้ส่วนท้ายเรือยกเกือบตั้งฉากกับพื้นน้ำ และเริ่มจมลงในแนวดิ่ง[30]

2 นาฬิกา 20 นาที เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[1] ผู้โดยสารจำนวนมากลอยคออยู่ด้วยเสื้อชูชีพ แต่น้ำทะเลในขณะนั้นเย็นจัด ผู้โดยสารและลูกเรือที่ขึ้นเรือสำรองไม่ทันถูกทิ้งให้ลอยคอบนน้ำที่เย็นยะเยือก ในขณะที่ทางเรือสำรองที่ลอยอยู่ด้านนอกก็พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ไม่ได้ เพราะหากผลีผลามเข้าไป คนที่ลอยคออยู่ในน้ำที่เย็นเยือกจะแย่งกันขึ้นเรือสำรองเพื่อที่จะหลุดพ้นจากน้ำอันเย็นหนาว ซึ่งนั่นจะทำให้เรือสำรองถูกผู้ที่ลอยคออยู่รุมจนจมลงไปด้วย ดังนั้น จึงต้องรอให้ผู้ที่ลอยคอหนาวตายไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเหลือผู้รอดน้อยพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้โดยที่เรือสำรองจะไม่ถูกรุมจนจม[ต้องการอ้างอิง]

3 นาฬิกาตรง เสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือเงียบลง รวมเป็นเวลา 40 นาที ที่ผู้ที่ลอยคออยู่ตายไปจนเกือบหมด เจ้าหน้าที่จึงส่งเรือสำรองมาช่วย แต่ไม่ค่อยทัน ส่วนใหญ่ตายหมดแล้ว เรือสำรองที่เข้าไปช่วยเหลือนั้น นำผู้โดยสารที่ยังไม่เสียชีวิตขึ้นมาได้เพียง 14 คนในสภาพหนาวสั่นทรมาน และในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิต รวมแล้วเหลือผู้ที่รอดจากการถูกนำมาจากน้ำเย็นเฉียบเพียง 11 คน[31]

4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย[1] ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมด และพาสู่นครนิวยอร์ก[32] ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ได้มีการสรุปยอดและรายชื่อของผู้รอดและผู้เสียชีวิต ดังนี้[33]

ประเภทของผู้โดยสารจำนวนที่อยู่บนเรือจำนวนคนที่รอดจำนวนคนที่เสียชีวิตเปอร์เซ็นต์ของคนที่รอดเปอร์เซ็นต์ของคนที่เสียชีวิต
เด็กชั้น First Class65183.4%16.6%
เด็กชั้น Second Class24240100%0%
เด็กชั้น Third Class79275234%66%
ผู้ชายชั้น First Class1755711833%67%
ผู้ชายชั้น Second Class168141548%92%
ผู้ชายชั้น Third Class4627538716%84%
ลูกเรือชาย85219269322%78%
ผู้หญิงชั้น First Class144140497%3%
ผู้หญิงชั้น Second Class93801386%14%
ผู้หญิงชั้น Third Class165768946%54%
ลูกเรือหญิง2320387%13%
รวมทั้งหมด2,2247101,51432%68%
ประเภทจำนวนบนเรือจำนวนผู้รอดชีวิตร้อยละผู้รอดชีวิต
เด็ก1095651.4%
ผู้หญิง42531674.4%
ผู้ชาย169033820.0%
ประเภทจำนวนบนเรือจำนวนผู้รอดชีวิตร้อยละผู้รอดชีวิต
ผู้โดยสารชั้น First Class32520262.2%
ผู้โดยสารชั้น Second Class28511841.4%
ผู้โดยสารชั้น Third Class70617825.2%
ลูกเรือ90821223.3%

ใกล้เคียง

อาร์เอ็มเอส ไททานิก อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย อาร์เอ็มเอส แอควิเทเนีย อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาร์เอ็มเอส ไททานิก http://jproc.ca/radiostor/titanic.html http://www.gov.ns.ca/nsarm/cap/titanic/ http://www.anesi.com/titanic.htm http://www.atlanticliners.com/titanic_home.htm http://www.keyflux.com/titanic/facts.htm http://www.keyflux.com/titanic/timeline.htm http://www.maritimequest.com/liners/titanic/pages/... http://www.maritimequest.com/liners/titanic_data.h... http://www.thegreatoceanliners.com/titanic.html http://www.titanic-nautical.com/titanic-facts.html